วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ประโยชน์ของการปฏิบัติตามกฎจราจร

ประโยชน์ของการปฏิบัติตามกฎจราจร
                    
1. ทำให้การจราจรบนท้องถนนไม่ติดขัด เมื่อทุกคนปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัดในการขับขี่ยานพาหนะแต่ละคนก็ขับขี่ไปตามเส้นทางของตน ตามกันข้าม  ถ้ามีบางคนไม่ปฏิบัติตามกฎจราจรก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัดได้
                    2. การปฏิบัติตามกฎจราจรจะเป็นการปัองกันอุบัติเหตุที่จะน่ามาซึ่งความสูญเสียในชีวิตร่างกาย ทรัพย์สินของประชาชนและประเทศชาติในปัจจุบันนี้ยังมีผู้ฝ่าฝืนกฎหมายจราจรอยู่เสมอ จะเห็นได้จากข่าวอุบัติเหตุตามท้องถนนสายต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด นักเรียนเป็นผู้หนึ่งจะมีส่วนช่วยรณรงค์ให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายจราจร

การปฏิบัติตามกฎจราจรของคนเดินเท้า

การปฏิบัติตามกฎจราจรของคนเดินเท้า
                    
คนไทยทุกคนต้องรู้การปฏิบัติตนตามกฎจราจรของคนเดินเท้า คงไม่มีใครปฏิเสธว่าไม่เคยเดินข้ามถนนหรือไม่เคยเดินบนถนน โดยเฉพาะนักเรียนจะต้องเดินทางไปโรงเรียนทุกวัน จะต้องรู้ข้อปฏิบัติตามกฎจราจรของคนเดินเท้าดังนี้

                    1. ทางใดที่มีทางเท้าหรือไหล่ทางอยู่ข้างทางเดินรถให้คนเดินเท้าเดินบนทางเท้าหรือไหล่ทาง ถ้าทางนั้นไม่มีทางเท้าอยู่ข้างทางเดินรถให้เดินริมทางด้านขวาของตน
                    2. ภายในระยะไม่เกิน 100 เมตรนับจากทางข้าม ห้ามคนเดินเท้าข้ามนอกทางข้าม
                    3. คนเดินเท้าซึ่งประสงค์จะข้ามทางเดินรถในทางข้ามที่มีไฟสัญญาณจราจรควบคุมคนเดินเท้า ให้ปฏิบัติตามไฟสัญญาณจราจรที่ปรากฏต่อหน้า ดังต่อไปนี้
                            1) เมื่อมีสัญญาณจราจรไฟสีแดง ไม่ว่าจะมีรูปหรือข้อความเป็นการห้ามมิให้คนเดินเท้าข้ามทางเดินรถด้วยหรือไม่ก็ตาม ให้คนเดินเท้าหยุดรออยู่บนทางเท้าบนเกาะแบ่งทางเดินรถหรือในเขตปลอดภัย เว้นแต่ทางใดที่ไม่มีทางเท้าให้หยุดรอบนไหล่ทางหรือขอบทาง
                            2) เมื่อมีสัญญาณจราจรไฟสีเขียว ไม่ว่าจะมีรูปหรือข้อความเป็นการอนุญาตให้คนเดินเท้าข้าทางเดินรถด้วยหรือไม่ก็ตาม ให้คนเดินเท้าข้ามทางเดินรถได้
                            3) เมื่อมีสัญญาณจราจรไฟสีเขียวกะพริบทางด้านใดของทาง ให้คนเดินเท้าที่ยังไม่ได้ข้าทางเดินรถหยุดรอบนทางเท้า บนเกาะแบ่งทางเดินรถหรือในเขตปลอดภัย แต่ถ้ากำลังข้ามทางเดินรถ ให้ข้าทางเดินรถโดยเร็ว
                    4. คนเดินเท้าซึ่งประสงค์จะข้ามทางเดินรถในทางข้าม หรือทางร่วมทางแยกที่มีสัญญาณจราจรควบคุมการใช้ทาง ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
                            1) เมื่อมีสัญญาณจราจรไฟสีแดงให้รถหยุดทางด้านของทาง ให้คนเดินเท้าข้ามทางเดินรถตามที่รถหยุดนั้น และต้องข้ามทางเดินรถภายในทางข้าม
                            2) เมื่อมีสัญญาณจราจรไฟสีเขียวให้รถผ่านทางด้านใดของทาง ห้ามคนเดินเท้าข้ามทางเดินรถด้านนั้น
                            3) เมื่อมีสัญญาณจราจรไฟสีเหลืองอำพันกะพริบทางด้านใดของทางให้คนเดินเท้าที่ยังไม่ได้ข้ามทางเดินรถ หยุดรอบนทางเท้าบนเกาะแบ่งทางเดินรถหรือในเขตปลอดภัย แต่ถ้ากำลังข้ามทางเดินรถอยู่ในทางข้ามให้ข้ามทางเดินรถโดยเร็ว
                    5. ห้ามมิให้ผู้ใดเดินแถว เดินเป็นขบวนแห่ หรือเดินเป็นขบวนใดๆ ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจร เว้นแต่
                            1) เป็นแถวทหารหรือตำรวจที่มีผู้ควบคุมตามระเบียบแบบแผน
                            2) แถวหรือขบวนแห่ หรือขบวนใดๆ ที่เจ้าพนักงานจราจรได้อนุญาตและปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานจรากำหนด

การปฏิบัติตามกฎจราจร

การปฏิบัติตามกฎจราจร
               
1. ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามสัญญาณจราจร หรือเครื่องหมายจราจรที่ปรากฏข้างหน้าในกรณีต่อไปนี้
                        1.1 สัญญาณจราจรไฟสีเหลืองอำพัน ให้ผู้ขับขี่เตรียมหยุดรถหลังเส้นให้หยุด เพื่อเตรียมปฏิบัติตามสัญญาณที่จะปรากฏต่อไป เว้นแต่ผู้ขับขี่ได้เลยเส้นให้หยุดไปแล้วให้เลยไปได้
                        1.2 สัญญาณจราจรไฟสีแดง หรือเครื่องหมายจราจรสีแดงที่มีคำว่า หยุดให้ผู้ขับขี่หยุดรถหลังเส้นให้หยุดรถ
                        1.3 สัญญาณจราจรไฟสีเขียว หรือเครื่องหมายจราจรสีเขียนที่มีคำว่า ไปให้ผู้ขับขี่ขับรถต่อไปได้ เว้นแต่จะมีเครื่องหมายจราจรกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
                        1.4 สัญญาณจราจรไฟสีแดง แสดงพร้อมกับลูกศรสีเขียวให้เลี้ยวหรือชี้ให้ตรงไป ให้ผู้ขับขี่เลี้ยวรถหรือขับตรงไปได้ตามทิศทางที่ลูกศรชี้    ในการใช้ทางตามที่ลูกศรชี้ ผู้ขับขี่ต้องใช้เส้นทางด้วยความระมัดระวัง และต้องให้สิทธิแก่คนเดินเท้าในทางข้าม หรือผู้ขับขี่ที่มาทางขวาก่อน
                        1.5 สัญญาณจราจรไฟกะพริบสีแดง ถ้าติดตั้งอยู่ที่ทางร่วมทางแยกใด และเปิดทางด้านใดให้ผู้ขับขี่ที่มาทางด้านนั้นหยุดรถหลังเส้นให้รถหยุด เมื่อเห็นว่าปลอดภัยและไม่เป็นการกีดขวางการจราจรแล้ว จึงให้ขับรถต่อไปได้ด้วยความระมัดระวัง
                        1.6 สัญญาณจราจรไฟกะพริบสีเหลืองอำพัน ถ้าติดตั้งอยู่ ณ ที่ใด ให้ผู้ขับขี่ลดความเร็วรถลง และผ่านทางเดินรถนั้นไปด้วยความระมัดระวัง    ผู้ขับขี่ซึ่งจะขับรถตรงไป ต้องเข้าอยู่ในช่องเดินรถที่มีเครื่องหมายจราจรแสดงให้ตรงไป ส่วนผู้ขับขี่ที่จะเลี้ยวรถ ต้องเข้าอยู่ในช่องเดินรถที่มีเครื่องหมายแสดงให้เลี้ยว   การเข้าอยู่ในช่องเดินรถดังกล่าว จะต้องเข้าตั้งแต่เริ่มมีเครื่องหมายแสดงให้ปฏิบัติเช่นนั้น
                2. ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามสัญญาณจราจรที่พนักงานเจ้าหน้าที่แสดงให้ปรากฏข้างหน้าในกรณีต่อไปนี้
                        2.1 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยืน และเหยียดแขนซ้ายออกไปเสมอระดับไหล่ ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมาทางด้านหลังของพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องหยุดรถ แต่ถ้าหนักงานเจ้าหน้าที่ลดแขนข้างที่เหยียดออกไปนั้นลงและโบกมือไปข้างหน้า ให้ผู้ขับขี่ซึ่งหยุดรถอยู่ทางด้านหลังขับรถผ่านไปได้
                        2.2 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยืน และเหยียดแขนข้างใดข้างหนึ่งออกไปเสมอระดับไหล่และตั้งฝ่ามือขึ้น ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมาทางด้านที่เหยียดแขนข้างนั้นของพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องหยุดรถ แต่ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่พลิกฝ่ามือที่ตั้งอยู่นั้น แล้วโบกผ่านศีรษะไปทางด้านหลัง ให้ผู้ขับขี่ซึ่งหยุดรถอยู่นั้นขับผ่านไปได้
                        2.3 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยืน และเหยียดแขนทั้งสองข้างออกไปเสมอระดับไหล่และตั้งฝ่ามือขึ้น ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมาทางด้านที่เหยียดแขนทั้งสองข้างของพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องหยุดรถ
 
                        2.4 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยืน และยกแขนขวาท่อนล่างตั้งฉากกับแขนท่อนบนและตั้งฝ่ามือขึ้น ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมาทางด้านหน้าของพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องหยุดรถ แต่ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่พลิกฝ่ามือที่ตั้งอยู่นั้น โบกไปด้านหลัง ให้ผู้ขับขี่ซึ่งหยุดรถทางด้านหน้าของพนักงานเจ้าหน้าที่ขับรถผ่านไปได้
                        2.5 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ยืน และยกแขนขวาท่อนล่างตั้งฉากกับแขนท่อนบนและตั้งฝ่ามือขึ้น ส่วนแขนซ้ายเหยียดออกไปเสมอระดับไหล่ ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมาทางด้านหน้าและด้านหลังของพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องหยุดรถ การหยุดรถให้หยุดหลังเส้นให้หยุด ในกรณีที่ทางเดินรถใดไม่มีเส้นให้หยุด ให้ผู้ขับขี่หยุดรถห่างจากพนักงานเจ้าหน้าที่ในระยะไม่น้อยกว่า 3 เมตร
                3. ผู้ขับขี่รถต้องปฏิบัติตามสัญญาณจราจรที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้แสดงด้วยเสียงสัญญาณนกหวีดในกรณีต่อไปนี้
                        3.1 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใช้เสียงสัญญาณนกหวีดยาวหนึ่งครั้ง ให้ผู้ขับขี่หยุดรถทันที
                        3.2 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใช้เสียงสัญญาณนกหวีดสั้นสองครั้งติดต่อกัน ให้ผู้ขับขี่ขับรถผ่านไปได้
           
     4. การปฏิบัติตามกฎจราจรของผู้ขับขี่รถจักรยาน
                   
 นักเรียนที่อยู่ต่างจังหวัดบางคนจะขับขี่รถจักรยานไปโรงเรียน หรือผู้ที่อยู่ในกรุงเทพฯบางคนก็ขับขี่รถจักรยานในระยะทางใกล้ๆ ฉะนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องรู้ข้อปฏิบัติของผู้ขับขี่รถจักรยานดังนี้
                       
 1. ทางใดที่ได้จัดทำไว้สำหรับรถจักรยาน ผู้ขับขี่รถจักรยานต้องขับขี่ในทางนั้น
                       
 2. รถจักรยานที่ใช้ในทางเดินรถ ไหล่ทาง หรือทางที่จัดไว้สำหรับรถจักรยาน ผู้ขับขี่รถจักรยานต้องจัดให้มี
                               
 1) กระดั่งที่ให้สัญญาณได้ยินได้ในระยะไม่น้อยกว่า 30 เมตร
                               
 2) เครื่องห้ามล้อที่ใช้การได้ดี เมื่อใช้สามารถทำให้รถจักรยานหยุดได้ทันที
                               
 3) โคมไฟติดหน้ารถจักรยานแสงขาวไม่น้อยกว่า 1 ดวง ที่ให้แสงไฟส่องตรงไปข้างหน้า เห็นพื้นทางได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 15 เมตร และอยู่ในระดับต่ำกว่าสายตาของผู้ขับขี่ซึ่งขับรถสวนมา
                               
 4) โคมไฟติดหน้ารถจักรยานแสงแดงไม่น้อยกว่า 1 ดวง ที่ให้แสงไฟส่องตรงไปข้างหลังหรือวัตถุสะท้อนแสงสีแดงแทน ซึ่งเมื่อถูกไฟส่องให้มีแสงสะท้อน
                   
 3. ผู้ขับขี่รถจักรยานต้องขับให้ชิดขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถ ไหล่ทางหรือทางที่จัดทำให้สำหรับรถจักรยานให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ในกรณีที่มีช่องเดินรถประจำทางด้านซ้ายสุดของทางเดินรถ ต้องขับขี่จักรยานให้ชิดช่องเดินรถประจำทางนั้น
                   
 4. ในทางเดินรถ ไหล่ทาง หรือทางที่จัดทำไว้สำหรับรถจักรยาน ห้ามผู้ขับขี่รถจักรยานปฏิบัติดังนี้
                           
 1) ขับรถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจจะเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน
                           
 2) ขับรถโดยไม่จับคันบังคับรถ
                           
 3) ขับขนานกันเกินสอง เว้นแต่ขับในทางที่จัดไว้สำหรับรถจักรยาน
                           
 4) ขับโดยนั่งบนที่อื่นอันมิใช่ที่นั่งที่จัดไว้เป็นที่นั่งตามปกติ
                           
 5) ขับโดยบรรทุกบุคคลอื่น เว้นแต่รถจักรยานสามล้อมสำหรับบรรทุกคน ทั้งนี้ตามเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนด
                           
 6) บรรทุกหรือถือสิ่งของ หีบห่อ หรือของใดๆในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจับคันบังคับรถหรืออันอาจจะเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน
                           
 7) เกาะหรือพ่วงรถอื่นที่กำลังแล่นอยู่

สัญญาณจราจรและเครื่องหมายจราจร

สัญญาณจราจรและเครื่องหมายจราจร
               

สัญญาณจราจร หมายถึง สัญญาณใดๆ ไม่ว่าจะแสดงด้วยธง ไฟ ไฟฟ้า มือ แขน เสียงนกหวีดหรือด้วยวิธีอื่น สำหรับให้ผู้ขับขี่ คนเดินเท้าหรือคนจูง ขี่ หรือไล่ต้อนสัตว์ปฏิบัติตามสัญญาณนั้น   เครื่องหมายจราจร หมายถึง เครื่องหมายใดๆ ที่ได้ติดตั้งไว้หรือทำให้ปรากฏในทางสำหรับให้ผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนที่จูง ขี่หรือไล่ต้อนสัตว์ ปฏิบัติตามเครื่องหมายนั้น

กฎหมายเกี่ยวกับการจราจรทางบก

                 กฎหมายเกี่ยวกับการจราจรทางบก กำหนดหน้าที่ของผู้ขับขี่ยานพาหนะในถนน ซึ่งผู้ขับขี่ยานพาหนะทุกคนต้องรู้และปฏิบัติตามสัญญาณจราจรและเครื่องหมายจราจรอย่างเคร่งครัดและผู้เดินเท้าก็ต้องปฏิบัติตามกฎจราจรของคนเดินเท้า


                ในสังคมปัจจุบันนี้วิทยาการต่างๆ ก้าวหน้าไปมาก การคมนาคมสะดวกขึ้น ในสมัยโบราณจะเดินทางไปที่ใดก็อาศัยการเดิน ถ้าเดินทางไปในระยะทางไกลก็จะใช้สัตว์เป็นพาหนะ เช่น ช้าง ม้า ฯลฯ แต่ในปัจจุบันนี้จะเห็นว่าการคมนาคมรวดเร็วทั้งทางบก ทางเรือและทางอากาศ โดยเฉพาะการคมนาคมทางบก มีรถยนต์ประเภทต่างๆ เป็นพาหนะจำนวนมากขึ้นตามฐานะเศรษฐกิจของพลเมือง ดังนั้นจึงมีกฎหมายว่าด้วยการจรจรทางบกขึ้นมาเป็นหลักเพื่อควบคุมการใช้เส้นทางของผู้ขับขี่ คนเดินท้าคนจูงหรือหรือไล่ต้อนสัตว์   


                ให้ปฏิบัติตามหลักของกฎหมาย เพื่อสงวนไว้ซึ่งชีวิตและทรัพย์สินของบุคคล เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม   วัตถุประสงค์สำคัญของพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 คือ   ต้องการควบคุมการใช้รถใช้ถนนให้เป็นระเบียบเรียบร้อย

วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ความรู้เกี่ยวกับการขับแซง

ความรู้เกี่ยวกับการขับแซง หรือผ่านขึ้นหน้า
ผู้ขับขี่จะแซงขึ้นหน้ารถอื่น
ต้องให้เสียงสัญญาณดังพอที่จะให้ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถคันหน้าทาบตามความประสงค์
2 ในเวลากลางคืนให้สัญญาณไปสูงต่ำสลับกัน
3 ให้สัญญาณไปกะพริบทางขวา เพื่อให้รถคันหลังรู้ว่าจะแซง
4 ดูในกระจกหลังว่ามีรถด้านหลังกำลังแซงขึ้นมาหรือไม่
ดูข้างหน้าว่ามีรถสวนทางมาหรือไม่
6 เมื่อผู้ขับขี่รถคันหน้าให้สัญญาณตอบแล้ว จึงแซงขึ้นหน้าได้

ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถแซงเพื่อขึ้นหน้ารถคันอื่นด้านซ้าย เว้นแต่กรณี ดังต่อไปนี้
รถที่จะถูกแซงกำลังเลี้ยวขวาหรือให้สัญญาณว่าจะเลี้ยวขวา
2 ทางเดินรถนั่นได้จัดแบ่งเป็นช่องเดินรถในทิศทางเดียวกัน ตั้งแต่ 2 ช่องขึ้นไป การขับรถแซงด้านซ้ายตามข้อ1–2จะกระทำได้เมื่อไม่มีรถอื่นตามมาในระยะ
กระชั้นชิดและมีความปลอดภัยพอ


ห้ามขับรถแซงขึ้นหน้ารถคันอื่นในกรณี ดังนี้
เมื่อรถกำลังขึ้นทางชันขึ้นสะพานหรือทางโค้ง เว้นแต่มีเครื่องหมายจราจรให้แซงได้
ภายในระยะ 30 เมตร ก่อนถึงทางข้าม ทางร่วมทางแยก วงเวียน หรือเกาะที่สร้าง
ไว้หรือทางเดินรถที่ตัดข้ามทางรถไฟ
เมื่อมีหมก ฝน ฝุ่น หรือควัน จนทำให้ไม่อาจเห็นทางข้างหน้าในระยะ 60 เมตร
เมื่อเข้าที่คับขันหรือเขตปลอดภัย
ห้ามขับแซงล้ำเข้าไปในช่องเดินรถประจำทาง

เมื่อได้รับสัญญาณขอแซงขึ้นหน้าจากรถคันที่อยู่ข้างหลัง
ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมีความเร็วช้า หรือรถที่ใช้ความเร็วต่ำกว่าความเร็วของรถอื่นที่ขึ้นไป
ในทิศทางเดียวกัน ต้องยอมให้รถที่มีความเร็วสูงกว่าผ่านขึ้นหน้า
ผู้ขับขี่ขอทางต้องให้สัญญาณตอบ เมื่อเห็นว่าทางเดินรถข้างหน้าปลอดภัยและไม่มีรถ
อื่นสวนทางมาในระยะกระชั้นชิดและต้องลดความเร็วของรถ และขับชิดด้านซ้าย
ของทางเดินรถเพื่อให้รถที่จะแซงขึ้นหน้าแซงได้โดยปลอดภัย

อ้างอิง http://www.phokaewpolice.org/km.asp

การขับรถที่เสี่ยงอันตราย


ความรู้ในการขับรถที่เสี่ยงต่ออันตราย
หมายถึง  การขับรถบนถนนที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ เช่น ถนนลื่น ขึ้นลงเขาหรือขับรถทางไกล ซึ่งผู้ขับขี่ควรมีความรู้ต่าง ๆ ดังนี้
       1. ขับรถขณะฝนตกถนนลื่น ควรชะลอความเร็วรถให้ช้าลงกว่าปกติและทิ้งระยะห่างจากคันหน้าให้มากขึ้น ถ้าขับรถอยู่บนทางที่ให้รถขับสวนกันก็ควรเปิดไฟหน้ารถเพื่อเตือนให้รถที่วิ่งสวนมามองเห็น เวลาจะหยุดรถควรใช้เกียร์ช่วยไม่ควรเหยียบเบรกโดยกะทันหันหรือหักพวงมาลัยรถอย่างฉับพลันเพราะอาจทำให้รถปัดหรือหมุนได้
       2. การขับรถขึ้น-ลงเขาสูง เวลาขับรถขึ้นเขาควรใช้เกียร์ต่ำที่มีกำลังพอเพราะถ้าเครื่องยนต์ไม่มีกำลังพอจะทำให้รถดับได้ ถ้ารถดับและไหลลงจากขาต้องเหยียบเบรกและใช้เบรกมือช่วย ส่วนเวลาลงเขาก็ควรใช้เกียร์ต่ำเช่นกันเพื่อฉุดกำลังไม่ให้ไหลเร็วจนเกินไป หรือคอยประคองรถด้วยการเหยียบเบรกชะลอให้รถช้าพอที่จะบังคับได้
     3. การขับรถทางไกล ในบางครั้งเมื่อมีความจำเป็นต้องขับรถเดินทางไกล ซึ่งอาจมีโอกาสประสบอุบัติเหตุได้ ดังนั้นผู้ขับขี่ควรปฏิบัติตนดังนี้

ก. ตรวจสภาพและอุปกรณ์ต่าง ๆ ของรถ ให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีและปลอดภัยก่อนออกเดินทาง ดังนี้
     - ตรวจช่วงล่าง คันส่งคันชักพวงมาลัย
     - ตรวจยางทั้ง 4 ล้อ และยางอะไหล่ด้วย ยางไม่มีดอกควรเปลี่ยน น็อตล้อขันแน่นหรือไม่ วัดลมยางทั้ง 4 ล้อ ให้ได้ขนาดเหมาะสมกับรถ และควรมีที่วัดลมยางติดไปด้วย
    - เตรียมแม่แรงประจำรถ เหลักขันแม่แรงและกุญแจขันแม่แรง พร้อมทั้งตรวจสอบว่าใช้การได้หรือไม่
    - ตรวจระบบเบรก ผ้าเบรก น้ำมันเบรก และตรวจเบรกมือว่าใช้การได้ดีหรือไม่
    - ตรวจระบบเครื่องยนต์ ลองสตาร์ทเครื่องว่าเดินเรียบหรือไม่ ถ้าเครื่องเดินไม่เรียบอาจต้องเปลี่ยนหัวเทียนหรือทองขาว
    - ตรวจดวงไฟหน้าทั้งสองดวง รวมถึงไฟทุกดวงของรถ ต้องสว่างเพียงพอและให้การได้ดีทุกดวง ปรับไฟสูง - ไฟต่ำ ให้ได้ขนาดตามที่กำหนดไว้ ถ้าหลอดขาวหรือฟิวส์ขาดให้เปลี่ยน
     - ตรวจระดับน้ำกลั่นในแบตเตอรี่ น้ำในหม้อน้ำ (รังผึ้ง) ถ้าหม้อน้ำแห้งหรือทางเดินของน้ำหมุนเวียนอุดตัน เครื่องยนต์จะร้อน สังเกตได้จากหน้าปัดวัดความร้อน อาจทำให้เสื้อสูบแตกหรือชาร์จละลาย
    - ตรวจน้ำล้างกระจก ท่อฉีดน้ำกระจกต้องไม่อุดตัน ที่ปัดน้ำฝนยังใช้การได้ดี
    -  ตรวจน้ำมันเครื่อง และไส้กรองน้ำมันเครื่องจะต้องเปลี่ยนทุก 5,000 - 10,000 กม.
    - ตรวจน้ำมันเชื้อเพลิงว่ามีเพียงพอหรือไม่ และไส้หม้อกรองน้ำมันเชื้อเพลิงต้องสะอาด ซึ่งจะต้องเปลี่ยนทุก 10,000- 20,000กม.น้ำมันเชื้อเพลิงต้องเติมให้ค่าออกเทนตรงกับสภาพรถซึ่งสามารถ สอบถามได้ตามสถานีบริการน้ำมันต่างๆ
    - ตรวจระบบแตรว่าใช้การได้ดีหรือไม่
    - ตรวจระบบแอร์ ถ้าน้ำยาแอร์ไม่พอ แอร์จะไม่เย็น และให้ตรวจดูสายพานแอร์ว่า
    - ตรวจการรั่วไหลของน้ำ น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่นต่าง ๆ
    - นำรถไปอัดฉีดจาระบีล้อ เติมน้ำมันเกียร์ น้ำมันเฟืองท้าย

ข. เตรียมอุปกรณ์และอะไหล่ที่จำเป็นระหว่างทาง คือ ฟิวส์ต่าง ๆ ของรถ หลอดไฟหน้า-หลัง แกลลอนหรือถังน้ำสำหรับเติมน้ำในหม้อน้ำ แกลลอนน้ำมันเครื่อง น้ำมันเชื้อเพลิง ไฟฉาย เครื่องดับเพลิงสำหรับรถ น้ำยาปะอุดยางพร้อมเติมลมได้ด้วย เชือกไนล่อนขนาดนิ้วก้อยยาวประมาณ 10 เมตร สำหรับลากรถเมื่อรถเสีย ชุดปฐมพยาบาล และไม้รองล้อทั้ง 4 ล้อ

ค. ก่อนขับรถทางไกล ผู้ขับขี่ควรพักผ่อนอย่างเพียงพอ

ง. การขับรถทางไกลในระยะเกินว่า 150 กม. ควรมีอีกคนคอยเปลี่ยนขับ

จ. งดเว้นการดื่มสุรา หรือของมึนเมาทุกชนิด

ฉ. ถ้ามีฝนตกขณะเดินทาง น้ำโคลนกระเด็นเปื้อนไฟรถ ควรหยุดรถแล้วเช็ดให้สะอาด

ช. ถ้าน้ำในหม้อน้ำหมดระหว่างขับรถ เวลาเติมน้ำในหม้อน้ำควรใช้ความระมัดระวัง อย่าเอาหน้าเข้าใกล้มาก เพราะน้ำจะดันฝาไอน้ำร้อนจะเข้าตาหรือถูกมือ และอย่าเติมน้ำทันทีต้องปล่อยให้เย็นเสียก่อนมิฉะนั้นฝาสูบหรือเสื้อสูบจะแตก

ซ. ควรศึกษาแผนที่ คู่มือการท่องเที่ยว ถามผู้รู้เมื่อเกิดปัญหา

ฌ. ขับรถปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด